จาตุมหาราช
ท้าวกุเวร
ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสวัณ (สันสกฤต: वैश्रवण Vaiśravaṇa; บาลี: वेस्सवण Vessavaṇa)
เป็นเทพเจ้าแห่งยักษ์ เป็นหนึ่งในจาตุมหาราช ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์
สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมากประทับ ณ โลกบาลทิศเหนือ
คนไทยโบราณนิยมนำผ้ายันต์รูปยักษ์ผูกไว้ที่หัวเตียงเด็กเพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้มารังควานแก่เด็ก
ท้าวกุเวรองค์นี้มีกล่าวถึงในอาฏานาฏิยปริตรว่านำเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกามาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
และได้ถวายสัตย์ที่จะดูแลพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกไม่ให้ยักษ์หรือบริวารอื่น ๆ
ของท้าวจตุโลกบาลไปรังควาน
ท้าวกุเวรหรือท้าวเวสวัณนั้น
ส่วนมากเราจะพบเห็นในรูปลักษณ์ของยักษ์ยืนถือกระบองยาวหรือคทา
(ไม้เท้าเป็นรูปกระบอง) กันซะส่วนใหญ่ แต่แท้ที่จริงแล้ว
ยังมีรูปเคารพของท่านในรูปของชายนั่งในท่า มหาราชลีลา มีลักษณะอันโดดเด่นคือ
พระอุระพลุ้ยอีกด้วย กล่าวกันว่าผู้มีอาชีพสัปเหร่อ หรือมีอาชีพประหารชีวิตนักโทษ
มักพกพารูปท้าวท้าวเวสวัณ สำหรับคล้องคอเพื่อเป็นเครื่องรางของขลัง
ป้องกันภัยจากวิญญาณร้ายที่จะเข้ามาเบียดเบียน ในภายหลังภาพลักษณ์ของท้าวกุเวรที่ปรากฏในรูปของชายพุงพลุ้ยเป็นที่เคารพนับถือ
ในความเชื่อว่าเป็นเทพแห่งความร่ำรวย
แต่ท้าวกุเวรในรูปของท้าวเวสวัณซึ่งมาในรูปของยักษ์เป็นที่เคารพนับถือว่า
เป็นเครื่องรางของขลังป้องกันภูติผีปีศาจ
สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มที่ 3 หน้า 1439 กล่าวถึงท้าวกุเวรหรือท้าวเวสวัณไว้ว่า
กุเวร-ท้าว พระยายักษ์ผู้เป็นเจ้าแห่งขุมทรัพย์มียักษ์ และคุยหกะ
(ยักษ์ผู้เฝ้าขุมทรัพย์) เป็นบริวาร ท้าวกุเวรนั้น บางทีก็เรียกว่าท้าวไวศรวัน
(เวสสุวรรณ) ภาษาทมิฬเรียก "กุเวร" ว่า "กุเปรัน"
ซึ่งมีเรื่องอยู่ในรามเกียรติ์ว่า เป็นพี่ต่างมารดาของทศกัณฐ์
และทศกัณฐ์ไปแย่งบุษบกของท้าวกุเวรไป ท้าวกุเวรมีรูปร่างพิการผิวขาว มีฟัน 8
ซี่ และมีขาสามขา (ภาพท้าวเวสวัณจึงมักเขียนท่ายืนแยงแย
ถือไม้กระบองยาว อยู่หว่างขา) เมืองท้าวกุเวรชื่อ "อลกา"
อยู่บนเขาหิมาลัย มีสวนอุทยานอยู่ไหล่เขาแห่งหนึ่งของเขาพระสุเมรุ ชื่อว่า
"สวนไจตรต" หรือ "มนทร" มีพวกกินนรและคนธรรพ์เป็นผู้รับใช้
ท้าวกุเวรเป็นโลกบาลประจำทิศเหนือ คนจีนเรียกว่า "โต้เหวน" หรือ
"โต้บุ๋น" คนญี่ปุ่นเรียกว่า "พสมอน"
ท้าวกุเวรนี้สถิตอยู่ยอดเขายุคนธรอีสานราชธานี
มีสระโกธาณีใหญ่ 1 สระ ชื่อ ธรณี กว้าง 50
โยชน์ ในน้ำ ดารดาษไปด้วยประทุมชาติ และคลาคล่ำไปด้วย
หมู่สัตว์น้ำต่างพรรณ ขอบสระมีมณฑปชื่อ "ภคลวดี" กว้างใหญ่ 12 โยชน์ สำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ปกคลุมด้วยเครือเถาภควดีลดาวัลย์
ซึ่งมีดอกออกสะพรั่งห้อยย้อยเป็นพวงพู ณ สถานที่นี้ เป็นสโมสรสถานของเหล่ายักษ์บริวาร
และยังมีนครสำหรับเป็นที่แปรเทพยสถานอีก 10 แห่ง
ท้าวกุเวรมียักษ์เป็นเสนาบดี 32 ตน ยักษ์รักษาพระนคร 12
ตน ยักษ์เฝ้าประตูนิเวศ 12 ตน ยักษ์ที่เป็นทาส
9 ตน
นอกจากนี้ยังมีกล่าวว่า
ท้าวเวสวัณยังมีกายสีเขียว สัณฐานสูง 2 คาวุต
ประมาณ 200 เส้น มีอาวุธเป็นกระบอง มีพาหนะ ช้าง ม้า รถ
บางทีปราสาท อาภรณ์มงกุฎประดับรูปนาค ดำรงอิสริยศเป็นเจ้าแห่งยักษ์
มีบริวารแสนโกฏิ ถือโล่แก้วประพาฬ หอกทอง
ท้าวธตรฐ
ท้าวธตรฐ มหาราช
ประจำทิศตะวันออก ปกครองเหล่าคนธรรพ์ และวิทยาธรรวมถึงนางไม้นางอัปสรทั้งหลาย
ตามคติพุทธ ถือจักร หมายถึงพระเดชและยังเป็นนัยยะ แห่งการบันดาลฟ้าฝา
เนื่องจากเหล่าอากาสเทวดา ก็อยุ่ใต้การปกครองของท่าน
ท้าววิรุฬหก
ท้าววิรุฬหก (บาลี: Viruḷhaka; สันสกฤต: विरूढक) หนึ่งในสี่ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ซึ่งเป็นชั้นล่างสุดในฉกามาพจรเป็นเทพเจ้าผู้ปกครองทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นใหญ่ในหมู่หมู่ครุฑมีเทพกลุ่มกุมภัณฑ์เป็นบริวาร
มีรูปร่างท้องป่องพุ่งใหญ่ ขาสั้น กำยำล่ำสัน
ตามความเชื่อบางคติจะพบได้ว่าท้าววิรุฬหกคือผู้ปกครองครุฑและนก
ท้าววิรุฬหกปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิการ่วมกับ
1.ท้าวเวสสุวรรณซึ่งปกครองหมู่ยักษ์บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา 2.ท้าวธตรฐซึ่งปกครองหมู่คนธรรพ์บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา 3.ท้าววิรูปักษ์ซึ่งปกครองหมู่นาคบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา
ในมหาสมัยสูตรและบทภาณยักษ์ว่า โลกบาลแห่งทิศทักษิณทรงพระนามท้าววิรุฬหกมหาราช จอมกุมภัณฑ์ ส่วนในอาฏานาฏิยปริตรว่าเป็นจอมเทวดา ลัทธิข้างจีนฝ่ายมหายานว่า ทรงพระนามเตียงเชียง แปลว่า สง่างาม มือถือร่ม ทางทิเบตว่าถือกระบี่
ท้าววิรูปักษ์
ท้าววิรูปักษ์หนึ่งในสี่จาตุมหาราชผู้ปกครองทิศตะวันตก เป็นเทพเจ้าแห่งพญานาคทั้งปวง
ในเทวตำนานยุคต้นทรงดำรงตำแหน่งท้าวสักกะนอกจากนี้ยังมีกล่าวถึงในขันธปริตร (โบราณเรียกพระปริตรกันงู) บทสวดเจ็ดตำนาน
สวดเพื่อให้สวัสดิภาพจากพวกสัตว์มีพิษทั้งหลาย เพราะท้าวมหาราชพระองค์นี้ทรงมีพญานาคเป็นบริวาร
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก :
google
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น