วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เทพเจ้าอียิปต์

เทพเจ้าอียิปต์


เทวีเสลเคต(Selket) หรือเสร์คูเอต (Serquet) เทวีแห่งแมงป่อง



เทวีเสลเคต(Selket) หรือเสร์คูเอต (Serquet) เทวีแมงป่อง
มีชื่อเสียงขึ้นมาโดยราชาแมงป่อง กษัตริยก่อนราชวงศ์
พระนางเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์
เพราะพระนางเป็นหนึ่งในเทวีผู้พิทักษ์ต้นน้ำทั้งสี่แห่งแม่น้ำนิล
หน้าที่ของเทวีเสลเคตคือ เป็นคนเฝ้างูอาโปฟิส
ศัตรูของเทพราที่ถูกมัดและขังไว้ใต้พิภพ พระนางเป็นชายาของเทพเนเฆบคาอู
(Nekhebkau) เทพแห่งงูใหญ่ มีแขนเป็นมนุษย์
ซึ่งบางครั้งก็ถือว่าเป็นหนึ่งในเหล่าปีศาจซึ่งอาศัยอยู่ใต้โลก
กล่าวกันว่าเทวีเสลเคตถูกมัดด้วยโซ่จนสวรรคต
แต่พระสวามีของเธอบางครั้งก็เป็นเทพที่ดี คอยให้อาหารแก่วิญญาณของผู้ตาย
ถ้าในกรณีนี้ เทวีเสลเคตก็เป็นเทวีที่ดีด้วย


เทวีไอสิส (Isis) เทพแห่งอียิปต์


เทวีไอสิส (Isis) เทพแห่งอียิปต์ เป็นหนึ่งในเทพของ  ตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์เทวีไอซิส(Isis)บางตำราว่าเป็นธิดาของเทพและเทพีนุต

แต่ตำราที่จะเล่าต่อไปนี้เทพีไอซิสเป็นธิดาของเทพรากับเทพีนุต(หรือ เทพีนัต)ซึ่งต้นกำเนิดของพระนางเริ่มมาจาก หลังจากที่เทพราได้อภิเษกกับเทพีนุตแล้วเทพราปรารถนายิ่งนักที่จะได้โอรสธิดา แต่รอแล้วรอเล่าเทพีนุตก็ไม่ทรงครรภ์เทพราทรงพิโรธ จึงได้สาปว่าเทพีนุตไม่มีวันที่จะตั้งครรภ์ได้เทพีนุตเสียใจเป็นอันมากจึงได้ไปปรึกษาเทพธอทแห่งความรอบรู้ ซึ่งหลงรักเทพีนุตตลอดมาเทพธอทจึงแลกเปลี่ยนว่าถ้าเทพีนุตมีโอรสธิดาให้เทพราได้ พระนางต้องมอบความรักให้แก่เทพธอทซึ่งเทพีนุตก็ตกลงเทพธอทได้ไปท้าพนันกับเทพคอนชูเทพพระจันทร์ซึ่งโปรดปรานการพนัน โดยแสร้งเดินหมากกันจนหลงวันลืมคืนเทพคอนชูไม่รู้เท่าทันเล่ห์กลจึงเปล่งแสงอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งแสงมีมากพอเท่ากับแสงจากพระอาทิตย์จำนวน 5 วันเทพธอทจึงเลิกเล่นหมากกับเทพคอนชู จากนั้นมาเพราะแสงมีไม่มากพอเทพคอนชูจึงจำเป็นต้องลดแสงลงบ้างเวลาตอนกลางคืนกำเนิดเป็นข้างขึ้นข้างแรมแต่นั้นมาเทพธอทนำแสงที่นอกเหนือจากแสงอาทิตย์ของเทพรามาสร้างเป็นวันจำนวน 5 วันพอให้เทพีนุตตั้งครรถ์
ทำให้เกิดเหล่าเทพเทพีจำนวน 5 องค์คือ
1. วันที่หนึ่ง เทพีนุตให้กำเนิดเทพโอซีริส เทพกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ (การกำเนิดของพระองค์เลื่องลือไปทั่วทั้งสรวงสวรรค์ ด้วยเทพโอซิริสเป็นเทพที่ยิ่งใหญ่มาก)
2. วันที่สอง เทพีนุตให้กำเนิดเทพฮามาร์คิส เทพเจ้าแห่งรุ่งอรุณและเทพนักรบ หรือนัยหนึ่งคือ สฟิงซ์
3. วันที่สาม เทพีนุตให้กำเนิดเทพเซต เทพเจ้าแห่งความชั่วร้าย (เทพเซตกำเนิดในฤกษ์ร้ายและฉีกครรน์ของพระมารดาออกมาออกมา)
4. วันที่สี่ เทพีนุตให้กำเนิดเทพีไอซิส เทพีแห่งความรักและไสยศาสตร์
5. วันที่ห้า เทพีนุตให้กำเนิดเทพีเนฟธิส เทพีผู้คุ้มครองวิญญาณคนตาย
ต่อมาเป็นชายาเทพเซตเทพีไอซิสกับเทพโอซิริสนั้นหลงรักกันตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของเทพีนุต ทั้งสองเติบโตมาด้วยกันและเป็นศิษย์ร่วมอาจารย์ เทพโอซิริสทรงมีวิสัยผู้นำและเก่งกล้าสามารถ ส่วนเทพีไอซิสเก่งกาจด้านมนตราทั้งหลายและมีสติปัญญาเปรื่องปราดนัก
กระทั่งครั้งหนึ่ง เทพีไอซิสคิดอยากให้เทพโอซิริสได้ขึ้นครองบัลลังก์ไอยคุปต์จึงใช้สติปัญญาของพระนางลวงเทพรา จนเทพราหลงบอกพระนามจริงซึ่งผู้ใดรู้จะมีอิทธิฤทธิ์ยิ่งใหญ่ พระนางเลยมอบฤทธิ์ให้แก่เทพโอซิริส
เพราะเหตุนั้นเทพราจึงสละบัลลังก์ให้แก่เทพโอซิริสเมื่อเทพโอซิริสขึ้นเป็นเทพราชาพระองค์จึงจัดอภิเษกสมรสกับเทพีไอซิสเป็นพระราชินีเคียงคู่กันอียิปต์รุ่งเรืองอย่างมาก
ในยุคสมัยของเทพโอซิริสและเทพีไอซิส ทั้งสองสั่งสอนประชาชนให้รู้จักอารยธรรม และประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆจนเหล่าราษฏรต่างเคารพนับถือในเทพเทพีทั้งสองเป็นอย่างมาก

แต่เรื่องราวต่างๆไม่รอดพ้นสายตาของเทพเซตผู้ริษยาเทพเชษฐามาตลอดเทพเซตต้องเป็นพระราชา จึงสังหารเทพโอซิริสใส่โลงลอยตามแม่น้ำไนล์ไปในขณะนั้นเทพีไอซิสมิได้อยู่ใกล้ชิดสวามี พระนางเศร้าโศกเสียใจเป็นอันมากเทพเซตยึดบัลลังก์และตั้งตัวเป็นใหญ่แต่ทว่าเส้นทางของเทพผู้ชั่วร้ายไม่ราบรื่นเพราะเทพีไอซิสตั้งครรภ์ด้วยความรักที่ยิ่งใหญ่ เทพีไอซิสสืบเสาะหาร่องรอยสวามีไปทั่วไอยคุปต์อย่างยากลำบากถึงขนาดต้องคลอดโอรส เทพโฮรัส หรือ เทพฮอรัส กลางเส้นทางเทพีไอซิสมอบโอรสในปกครองของเทพีบูโตด้วยใจห่วงหาแต่พระนางจำเป็นต้องนำพระศพมาประกอบตามพิธี ไม่เช่นนั้นเทพโอซิริสก็ไม่สามารถไปยังดินแดนแห่งความตายได้เทพีไอซิสพบพระศพหลังจากตามหามาแสนนานพระนางซบพระพักตร์ร่ำไห้กับโลงสวามีและจะนำพระศพไปประกอบพิธีแต่เทพเซตผู้ชั่วร้ายก็ตามหาพระศพเจอจึงได้ฉีกศพเทพโอซิริสขาดวิ่นและโยนไปทั่วไอยคุปต์

เทพีไอซิสจึงต้องตามหาพระศพของสวามีอีกครั้งอย่างแสนเข็ญยิ่งกว่าเดิมแต่โชคร้ายยังไม่จากเทพีไอซิสไปเมื่อเทพเซตต้องการล้างเสี้ยนหนามขวางทางสู่การเป็นราชาจึงได้ส่งงูไปสังหารเทพโฮรัสที่ยังเป็นแค่ทารกจนตายตามบิดาไป
เทพีไอซิสต้องประสบเคราะห์กรรมสาหัส แต่เหล่าทวยเทพบอกเทพีไอซิสว่าเทพโฮรัสจะฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีก
แถมจะเก่งกล้าสามารถถึงขั้นสังหารเทพเซตลงได้ขอให้พระนางติดตามพระศพต่อไปเถิดเทพีไอซิสต้องการแก้เผ็ดเทพเซตจึงแปลงกายเป็นเทพีเนฟธิสขอคำสาบานจากเทพเซตว่าจะไม่ทำร้ายโอรสของพระนางจนกว่าโอรสของพระนางทำร้ายท่านซึ่งจะทำให้เทพโฮรัสฟื้นคืนชีพมาได้สำเร็จและปลอดภัยจนกว่าจะเติบใหญ่เทพเซตนึกว่าเทพีเนฟธิสเป็นผู้พูดจึงตกปากรับสาบานทันใดนั้นเทพีไอซิสก็เผยร่างจริงออกมาทำให้เทพเซตเดือดดาลเป็นอันมากหลังจากทุกข์ทรมาณกายใจมาตลอดหลายปีเทพีไอซิสก็ติดตามชิ้นส่วนของเทพโอซิริสจนครบและประกอบพิธีศพได้โดยมีเทพอานูบิส เทพแห่งความตาย(โอรสที่เกิดแต่เทพีเนฟธิสผู้หลงรักเทพโอซิริส พระนางได้แปลงกายเป็นเทพีไอซิสและมอมสุราเทพโอซิริสจนมีเทพอานูบิสแต่บางที่ก็ว่าที่แท้จริงแล้วเทพอานูบิสเป็นโอรสเทพีเนฟธิสกับเทพเซตนั่นเอง)เป็นผู้ทำพิธีศพให้ มีการพันผ้ารอบศพและลงน้ำยาก่อให้เกิดการทำมัมมี่ขึ้นมาตั้งแต่ตอนนั้นเมื่อเทพโอซิริสไปถึงดินแดนแห่งความตายแล้วพระองค์ก็ยิ่งใหญ่ถึงขนาดเป็นราชาแห่งโลกของคนตายเวลาแห่งการล้างแค้นมาถึงเมื่อเทพโฮรัสได้ฟื้นขึ้นจากตาย(พระองค์มีสัญลักษณ์คือนกฟีนิกซ์วิหคอมตะ)เทพบิดา เทพมารดาและเหล่าทวยเทพอีกมากมายได้สั่งสอนสิ่งต่างๆจนเทพโฮรัสเก่งกาจทั้งบู๊และบุ๋น ต่อมาเทพโฮรัสปราบเทพเซตลงได้ตามคำทำนายและเป็นเทพกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งไอยคุปต์ครอบครองบัลลังก์อย่างชอบธรรมท้ายสุดเทพครอบครัวนี้ก็ได้มาอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขอีกครั้งหนึ่งผู้คนในอียิปต์เมื่อบูชาเทพองค์ใดองค์หนึ่งในนี้ก็จะบูชาเทพทั้งสององค์ร่วมด้วย และเป็นสัญลักษณ์ต่อกันมาว่า
ฟาโรห์ที่สิ้นพระชนม์ไปแทนเทพโอซิริส องค์รานีคือเทพีไอซิสและฟาโรห์องค์ต่อมาคือเทพโฮรัส

ลักษณะของเทวีไอซิส

สัญลักษณ์ของเทวีไอซิสมีหลายแบบ
พระนางอาจเป็นมนุษย์ที่มีศีรษะเป็นวัว หรือมีดวงจันทร์สวมบนศีรษะ
หรือสวมมงกุฎรูปดอกบัวและมีหูเป็นข้าวโพด หรือถือขาแพะ
สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์
แต่ถ้าเป็นรูปปั้นมักเป็นรูปพระมารดากำลังให้นมเทพเจ้าฮฮรัสอยู่
แสดงถึงการปกป้องเด็กๆจากโรคภัย
บนศีรษะมีเขาสองเขาและมีวงสุริยะอยู่ตรงกลาง



เทพฮอรัส (Horus) เทพแห่งอียิปต์


เทพฮอรัส(Horus) ทรงเป็นพระโอรสของเทพโอซีริส และเทวีไอซิส
และเป็นพระสวามีของเทวีฮาธอร์
ทรงเป็นเทพที่เกิดจากการรวมกันของเทพนกเหยี่ยวและเทพแห่งแสงสว่าง
ทรงมีพระเนตรขวาเป็นดวงอาทิตย์และพระเนตรซ้ายเป็นดวงจันทร์

สัญลักษณ์ของเทพฮอรัสคือเป็นมนุษย์ที่มีศีรษะเป็นนกเหยี่ยว
ทรงสวมมงกุฎสองชั้นหรือแกะสลักเป็นรูปวงสุริยะมีปีกอยู่ที่รั้ววิหารประจำ
พระองค์ หรือคือนกเหยี่ยวกำลังบินอยู่เหนือการสู้รบของฟาโรห์
ที่อุ้งเล็บมีแส้แห่งความจงรักภักดีและแหวนแห่งความเป็นนิรันดร์อยู่

เทพฮอรัสทรงมีพระนามมากมายตามท้องที่ที่สักการะและความเชื่อ เช่น
เทพฮาโรเอริส(Haroeris) ฮอรัสเบฮ์เดตี(Horus Behdety) ฮาราเคต
ฮาร์มาฆิส(Harmakhis) และ ฮาร์สีเอสิส(Harsiesis)


เทพโอซีริส (Osiris) เทพแห่งสันติ ของชาวอียิปต์


ชื่อนี้คือชื่อเทพรุ่นแรกสุดของอียิปต์
เป็นเทพที่ได้ชื่อว่ารังเกียจความรุนแรงจับใจที่สุดองค์หนึ่ง ความรังเกียจเช่นนี้กลายเป็นเรื่องที่น่าลำบากใจจริงๆ
ไม่ช้าไม่นานเมื่อท้าวเธอต้องกลายมาเป็นเทพผู้ปกครองอียิปต์พระองค์พบว่าประชากรอันมากมายของพระองค์เวลานั้นเป็นพวกป่าเถื่อนแบบบริสุทธิ์จริงๆทั้งไม่สามรถคิดอ่านอะไรเองได้เนื่องจากความไม่รู้ และยังไร้ศีลธรรมอีกด้วย
แต่ถึงอย่างไรก็ตามโอซิริสก็ยังสามรถโน้มน้าวบรรดาประชาชนเหล่านั้นให้มาเชื่อฟังกฎระเบียบของ
พระองค์ได้เชื่อไหมว่าพระองค์สอนด้วยวิธีสันติเพียงอย่างเดียวให้รู้ถึงการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ตั้งสังคมขึ้น และบริหารสังคมนั้นด้วยวินัยและศีลธรรมโอซิริสสอนให้มีการเพาะปลูกทั่วไป สอนให้ทำขนมปังเป็นอาหาร
แถมยังสอนให้หมักไวน์และเบียร์เพื่อความสนุกสนานอีกซะด้วย

โอซิริสสร้างบ้านแปลงเมือง สร้างวัดวาอารามและมีการสร้างเทวรูปไว้บูชาเป็นรูปแรกพระองค์สร้างดนตรีไว้เพื่อความเพลิดเพลินและการบูชาภายใต้การปกครองของโอซิริสและมเหสีคือ ไอซิส (Isis)
อียิปต์กลายเป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ในโลกโบราณเชียวล่ะแล้วตอนนั้นเองที่โอซิริสตั้งใจว่าจะเผยแพร่อารยธรรมของพระองค์ไปทั่วโลก
แต่เนื่องจากเป็นคนที่เกลียดความรุนแรงในการเผยแพร่อารยธรรมในครั้งนี้โอซิริสจึงไม่ได้ใช้กำลังทางทหารเลย
พระองค์ใช้เวทมนตร์ของดนตรีและบทเพลงของพระองค์เท่านั้นแต่ว่าชาติแล้วชาติเล่าก็ต้อนรับอารยธรรมที่พระองค์นำไปให้ท้ายที่สุดเมื่อโอซิริสกลับถึงบ้านพระองค์ก็ได้เผยแพร่ความเจริญให้กับส่วนอื่นๆ ของโลกจนครบ
ส่วนในอียิปต์ตอนที่โอซิริสไม่อยู่ราชินีไอซิสก็ได้สานต่องานของพระสวามีด้วยการสอนผู้หญิงอียิปต์ในงานปั่น
ด้ายและทอผ้า สอนให้ผู้ชายรักษาคนป่วย ไอซิสคิดค้นการแต่งงานซึ่งทำให้ผู้หญิงและชายจะแบ่งปันความสุขและแรงงานระหว่างกันภายใต้การปกคองที่รุ่งเรืองของโอซิริสและไอซิสโลกของเราน่าจะมีสนติสุขจริงๆ
แต่นั่นจะต้องไม่มีเซท (Set)น้องชายทรยศของโอซิริสเองซึ่งเป็นผู้ทำให้ยุคทองนี้ล่มสลายลงด้วย
นิสัยของมนุษย์เรานี่ละ ใช่ว่าจะมีคนแบบเดียวกันทั้งโลกดังนั้นพวกที่มีจิตคิดอิจฉาริษยาจึงเข้าพวกกับเซทกันมากเหมือนกันและพวกที่ร้ายๆ แบบนี้ก็พากันหาอุบายมาฆ่าโอซิริสจนสำเร็จจักการเอาพระศพยัดลงโลง แล้วเอาไปถ่วงในแม่น้ำไนล์แต่ว่าโลงพระศพกลับล่องลอบออกไปทางปากแม่น้ำสู่ทะเลจนไปเกยฝั่งที่ฟีเนียเซีย
ราชินีไอซิสผู้โศกเศร้าได้พยายามติดตามหาพระศพของพระสวามีจนมาพบและได้ช่วยชุบชีวิตของพระองค์ขึ้นมาใหม่
ความผิดพลาดของการที่พระองค์ไม่ปรารถนาที่จะใช้กำลังรุนแรงนี่ละทำให้พระองค์พลาดอีกครั้งอย่างจังเบอร์เลย
เมื่อพระองค์ไม่ลงทัณฑ์เซทกลับปล่อยเอาไว้ให้เป็นเสี้ยนหนามในที่สุดไม่ช้าไม่นานเซทก็วางแผนฆ่าพระองค์อีกจนได้ คราวนี้สับพระศพแยกออกเป็นส่วนๆ ถึงสิบสี่ชิ้นกะไม่มีการชุบชีวิตขึ้นได้อีกครั้งโดยเด็ดขาดแล้วเอาชิ้นส่วนเหล่านี้ไปโปรยทั่วอียิปต์ร้อนถึงไอซิสผู้โชคร้ายต้องติดตามชิ้นส่วนของพระสวามีตามที่ต่างๆนำมาประกอบเป็นรูปร่าง
และคิดค้นเทคนิคการดองศพเพื่อชุบโอซิริสขึ้นมาเป็นครั้งที่สอง
แต่ว่าคราวนี้พระองค์กลับได้รับการเลือกให้เป็นผู้ปกครองดินแดนแห่งความตายนิรันดร์ เป็นที่ซึ่งพระองค์จะไม่คืนมาสู่อียิปต์ในรูปของมนุษย์อีกต่อไปอียิปต์ในความดูแลของพระองค์เหลือเพียงเรื่องของการอำนวยผลแห่งความอุดมของ
ดินและสายน้ำที่เป็นแหล่งก่อกำเนิดชีวิตของแม่น้ำไนล์ แล้วเซทผู้ริษยาล่ะหลังจากที่ฆ่าพี่ชายตายจนโอซิริสกลายเป็นเทพแห่งอาณาจักรในความมืดเซทยังไม่ลดละความริษยาลงเลย ยังคงตามจองล้างด้วยการนำเอาความแห้งแล้ง
และพายุทรายมารบกวนอียิปต์อยู่เนืองๆ
ส่วนไอซิสราชินีหม้ายซึ่งแสนจะโสกเศร้ากับการจากไปของพระสวามีก็มีชะตากรรมสุดท้ายที่ไร้ความสุขเมื่อโอรสของพระองค์กับโอซิริสคือ โฮรัส (Horus) ต้องการจะแก้แค้นเซทพระนางทรงห้ามด้วยไม่ต้องกานให้เกิดความรุนแรงขึ้นตามนโยบายของพระสวามีแต่คราวนี้โฮรัสเกิดบันดาลโทสะฟาดดาบตัดศีรษะพระมารดาสิ้นชีพพระนางไอซิสหลังจากสิ้นชีพแล้วก็กลายเป็นเทวีที่ช่วยให้คนตายได้ไปพบกับโอซิริส ฉะนั้นคนดีที่กำลังจะตายเห็นจะไม่ต้องกลัวอะไร
เพราะเทพและเทวีคู่นี้จะเป็นผู้นำทางเขาไปนิรันดร์กาล…



เทพรา (Ra) เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ของชาวอียิปต์


Ra,Amen(ดวงอาทิตย์-สุริยเทพ) เป็นเทพสูงสุด พระเสื้อเมือง Thebes "เทพเจ้ารา" คือ สุริยเทพผู้ยิ่งใหญ่แห่งเฮลิโอโปลิส นครสิริยะ คำว่า"รา" อาจหมายถึงผู้สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ และเป็นคำแรกที่นำมา ใช้กับคำว่า "ซัน" ซึ่งหมายถึง ดวงอาทิตย์ ต่อมาก็ได้กลายเป็นพระนามของเทพเจ้า เทพเจ้ารามีสัญลักษณ์และมีพระนามเป็นจำนวนมาก นักปราชญ์บางคนกล่าวว่า รา-ฮารัคเต เป็นเทพเจ้าที่มีพระเศียรเป็นหัวเหยี่ยว ทรงสวมมงกุฎที่เป็นแผ่นวงกลมรูปดวงอาทิตย์และงูเห่ากำลังแผ่แม่เบี้ย ฮารัคเต หมายถึง เทพฮอรัสแห่งขอบฟ้ากว้างไกล ซึ่งก็คือแหล่งกำเนิดของดวงอาทิตย์นั่นเอง หากพิจารณาถึงบทบาทสำคัญของ เทพเจ้า รา-ฮารัคเต ก็ถือว่าเป็นสุริยเทพแห่งเฮลิโอโปลิสที่ชาวไอยคุปต์เคารพบูชาตลอดมา

เทพเจ้าราทรงได้รับยกย่องให้เป็นพระบิดาและราชาแห่งเทพยดา มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตทั้งปวง เล่ากันว่ามนุษย์และสิ่งมีชีวิตเกิดมาจาก พระเสโทและน้ำพระเนตรของพระองค์ ตามตำนานเล่าว่า เทพเจ้าราทรงปกครองโลกซึ่งอยู่เหนือจักรวาลที่พระองค์ทรงเนรมิตขึ้น ต่อมาพระองค์ทรงแปลงกายเป็นมนุษย์ และ ได้กลายเป็นฟาโรห์พระองค์แรกที่ปกครองอาณาจักรไอยคุปต์จนเจริญรุ่งเรือง ต่อมาเมื่อทรงชราภาพและอ่อนแอ ประชาชนบางกลุ่มคิดแข็งข้อ ต่อต้าน ทำให้พระองค์ดำริจะใช้ตาไฟเผาผลาญทำลายชีวิตกลุ่มบุคคดังกล่าวให้วอดวายแต่ได้รับข้อเสนอว่าการกระทำดังกล่าวจะทำให้ผู้ที่ไม่ผิด เดือดร้อน ด้วยเหตุนี้พระองค์ทรงเนรมิตเทวีฮาเอทร์เป็นร่างสิงโตตัวเมียสูงใหญ่และดุร้ายออกไปล่ากลุ่มมนุษย์ชั่วร้าย สิงโตได้ฉีกเนื้อมนุษย์และ ดื่มเลือดเป็นอาหาร จนกระทั่งสิงโตเมามันกับการล่าเหยื่อจนกระทั่งทำลายมนุษย์บริสุทธิ์ เทพเจ้าราทรงเศร้าพระทัยมากกับการกระทำดังกล่าวจึงได้ อภัยให้แก่มนุษย์ และพระองค์พร้อมด้วยเหล่าเทพยดาทรงเสด็จสู่สวรรค์และได้กลายเป็นดวงดาวต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้ทำให้สวรรค์กับโลกแยกจากกัน เล่ากันว่า ดวงอาทิตย์หรือเทพเจ้าราจะเดินทางข้ามบอบฟ้า จากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกเป็นประจำทุกวัน เทพเจ้าราจะเสด็จโดย เรือแมนเจ็ตพร้อมด้วยเหล่าเทพเจ้าที่คอยทำลายศัตรูของเทพเจ้าราที่มักขวางทางขณะข้ามขอบฟ้าเป็นประจำ หัวหน้ากลุ่มศัตรูของเทพเจ้าราก็คือพญางูยักษ์เอเป็ป ซึ่งอาศัยอยู่ในวังน้ำลึกของแม่น้ำไนล์

มีตำนานเล่าว่า เทพเจ้าราทรงเกิดขึ้นตอนเช้าเป็นเด็ก และในตอนเที่ยงก็จะเป็นผู้ใหญ่ ครั้นถึงตอนเย็นก็จะเป็นคนชรา และ ต้องตายในคืนนั้น เรื่องนี้สอดคล้องกันตำนานเทพเจ้าราขณะทรงปกครองโลก โดยได้เล่าไว้ว่า เมื่อเทพเจ้าราเสด็จลงประทับเรือ เดินทางในยาม รัตติกาลก็จะจำแลงเปลี่ยนพระเศียรเป็นรูปหัวแกะ และพระองค์ก็ทรงมีพระนามอีกว่า "อัฟ-รา" หรือ "อัฟ" ซึ่งหมายถึงซากศพคนตาย พระองค์ เดินทางตลอดสิบสองชั่วโมงแห่งความมืด เรือที่ประทับมีชื่อว่า "เมเซ็คเค็ต" (เรือยามราตรี) ตามความเชื่อของชาวไอยคุปต์ เชื่อว่าวิญญาณของฟาโรห์และมนุษย์ที่ตายไปแล้วจะอยู่ในรูปดวงดาว ซึ่งจะคอยรับใช้เป็นลูกเรือสุริยะ ดวงดาวเหล่านั้นก็จะไม่ตกในระหว่งช่วงเวลากลางวัน ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ เนื่องจากแสงอันเจิดจ้าของดวงอาทิตย์นั่นเอง เทพเจ้าราเป็นเทพเจ้าที่ได้รับการสรรเสริญและเคารพบูชาทั่วทั้งอาณาจักรไอยคุปต์ ซึ่งต่างก็ถือว่าพระองค์คือผู้สร้างโลกและจักรวาล รวมทั้งเทพยดาทั้งมวล ในสมัยยุคอาณาจักรเก่าบรรดาฟาโรห์ที่ปกครองอาณาจักรไอยคุปต์ต่อกันมา มักจะตรัสอ้างว่าเป็นโอรสของเทพเจ้ารา และสวมเครื่องรางรูปพระเนตร อันเป็นสัญลักษณ์ของเทพเจ้ารา อันหมายถึงอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์และสูงสุด



เทพบาเตส (Bastet) เทพเจ้าแห่งความรัก และความอุดมสมบูรณ์ ของอียิปต์


ชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้า "Bastet" (เทวีบัสเตต) ซึ่งมีตัวเป็นคน แต่มีหัวเป็นแมว เป็นเทพเจ้าแห่งความรัก และความอุดมสมบูรณ์ 
นอกจากชาวอียิปต์จะใช้แมวจับหนูในโรงนาแล้ว ยังใช้แมวจับหนูบนเรือสินค้าอีกด้วย ตรงจุดนี้ เลยเกิดความเชื่อว่า เมื่อเรือเทียบท่า แมวก็ลงจากเรือ แต่ไม่ได้กลับขึ้นเรือจึงทำให้แมวขนาดพันธุ์ไปทั่วโลก 

ชาวอียิปต์โบราณนั้นนับถือแมวถึงขนาดแมวในบ้านตาย ยังต้องนำไปทำมัมมี่เลย (มัมมี่คนจะทำเฉพาะราชวงศ์และขุนนางเท่านั้น) มัมมี่แมวสามารถหาดูได้ที่พิพิธภัณฑ์ในประเทศอังกฤษ 

ในเมื่อแมวเป็นสัตว์เทพเจ้าของอียิปต์โบราณ จึงมีกฎ หากใครฆ่าแมว จะต้องถูกลงโทษอย่างหนัก 

พวกที่ต้องการยึดครองอาณาจักรอียิปต์โบราณ จึงใช้วิธีชั่วร้าย "อุ้มแมวไปรบ" แล้วพวกทหารอียิปต์จะสู้ได้อย่างไร (เป็นส่วนหนึ่งของการรบอียิปต์ไม่ได้ล่มสลายเพราะแมว) แต่ถึงอียิปต์โบราณจะล่มสลายไปแล้ว ชาวอียิปต์ในสมัยก่อนยังนับถือบูชาแมวเหมือนเดิม ขนาดชาวโรมันบางคน (สมัยนั้นโรมันปกครองอียิปต์) ฆ่าแมวยังถูกพวกอียิปต์ลงโทษเลย 

ต่อมาเข้าสู่ยุคกลางในยุโรป มีความเชื่อเรื่องแม่มด และความชั่วร้ายต่างๆ ชาวยุโรปในยุคนี้กล่าวหาว่า แมวเป็นสัตว์เลี้ยงของแม่มด (โดยเฉพาะแมวดำ) ดังนั้นใครเลี้ยงแมว จะถูกประณามว่าเป็นแม่มดร้าย ยิ่งเป็นคนแก่เลี้ยงแมวยิ่งแล้วใหญ่ พวกนี้มักจะโดนเผาทั้งเป็น ทั้งคนและแมว ดังนั้นเมื่อแมวน้อยลง จึงทำให้มีหนูมากขึ้น ทำให้กาฬโรคระบาดหนักในยุโรปช่วงนั้น 

ในยุคใกล้ๆกัน แถบเอเชียอย่างญี่ปุ่นกับจีน เริ่มเลี้ยงแมวกันมากขึ้นจากเดิมที่เคยเลี้ยงอยู่แล้ว และที่ญี่ปุ่นก็ยังใช้แมวเป็นสัญลักษณ์นำโชคอีกด้วย จะเห็นได้จาก "แมวกวัก" ที่ใช้กันตามร้านค้า จะใช้กวักลูกค้า หรือกวักเงินก็แล้วแต่ท่าทางของแมวตัวนั้น และที่จีนก็เชื่อว่า แมวเป็นสัตว์นำโชค เพราะว่าแมวจะเข้ามาอยู่ในบ้าน ก็ต่อเมื่อมันพอใจที่จะอยู่เท่านั้น เมื่อมันเข้ามาอยู่แล้วเจ้าของบ้าน มักจะมีโชคลาภมา



เทพอานูบิส (Anubis) เทพแห่งความตายของชาวอียิปต์


อานูบิส (Anubis) เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งของอียิปต์ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของชาวอียิปต์ เพราะอานูบิสเป็นเทพแห่งความตาย และเป็นเทพของการทำมัมมี่ ดังนั้นทั้งในพิธีกรรมการทำศพแบบอียิปต์โบราณและเรื่องราวในโลกหลังความตายของมนุษย์เทพองค์นี้จึงมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยอย่างมาก โดยที่มาของการนับถือเทพอานูบิสนี้น่าจะมีที่มาจากเมือง Abydos (อาบิโดส) ในอียิปต์เหนือ แต่ศูนย์กลางของความเชื่อนี้อยู่ที่เมือง Cynopolis (ไซโนโปลิส) ในอียิปต์เหนือ

อานูบิสเป็นเทพที่มีลักษณะลำตัวเป็นคน แต่ส่วนหัวจนถึงคอเป็นลักษณะศีรษะของหมาในสีดำ ในมือถือคทา บางครั้งเทพองค์นี้ก็เรียกกันว่า Anpu (อันปุ) พิธีกรรมการนับถือเทพอานูบิสนี้เชื่อกันว่ามีมานานมากแล้วและบางครั้งก็มีการสร้างรูปปั้นหมาในสีดำ หรือสีทองเป็นตัวแทนของเทพองค์นี้ก็มี และที่ลักษณะของเทพอานูบิสที่มีใบหน้าเป็นหมาในก็สันนิษฐานได้ว่า เป็นเพราะสัตว์ชนิดนี้มักจะออกหากินในตอนกลางคืน และพบมากในบริเวณสุสานของคนตาย จากสิ่งนี้เองจึงทำให้คาแรทเตอร์ของเทพอานูบิสมีใบหน้าเป็นหมาในซึ่งชาวอียิปต์นับถือกันในนามเทพผู้พิทักษ์คนตายและสุสาน

หน้าที่ของเทพองค์นี้ก็คือการนำดวงวิญญาณของคนตายสู่ยมโลกเพื่อทำการตัดสินผลกรรมที่ได้ทำมาก่อนตาย ต่อหน้าองค์เทพโอซิริส (Osiris) โดยเทพอานูบิสจะนำหัวใจของผู้ตายไปวางไว้บนตาชั่งข้างหนึ่ง ส่วนอีกข้างหนึ่งของตาชั่งจะเป็นขนนกที่ได้รับมาจากเทพ (มูอาท) Muatหากหัวใจของผู้ตายเบากว่าขนนกแสดงว่าในขณะที่คนผู้นั้นมีชีวิตอยู่ได้กระทำการอันเป็นกุศล จึงสมควรได้รับพรจากเทพโอชิริสให้มีชีวิตอันเป็นนิรันดร์แล้วจะได้อยู่ในดินแดนที่เรียกว่า “Fields of the Reed” หรือสวรรค์ของชาวอียิปต์นั่นเอง ส่วนคนที่ไม่ผ่านการทดสอบนั่นก็คือหัวใจมีน้ำหนักมากกว่าขนนก สัตว์อสูรที่ชื่อ Ammut (อัมมุท) ที่นอนรออยู่ใต้ตาชั่งก็จะกินหัวใจของดวงวิญญาณดวงนั้นทันที แล้วดวงวิญญาณนั้นก็จะสูญสลายตลอดไป ก็ถือว่าเป็นการตายครั้งที่สองและเป็นการตายสนิท ตายแบบถาวรไปเลย

ในด้านตำนานเกี่ยวความเป็นมาของเทพอานูบิสนี้ เชื่อกันว่าอานูบิส เป็นโอรสของเทพีเนฟทิส (Nephtys) กับเทพเซต (Set) จึงนับเป็นหลานของเทพโอซิริส (Osiris) และ เทพีไอซิส (Isis) ด้วย ทั้งนี้มีบางตำราได้กล่าวไว้ว่าเทพอานูบิสให้ความเคารพเทพีไอซิสเสมือนมารดาแท้ๆ คนหนึ่งของตนเลยทีเดียว และที่มาของการทำมัมมี่ก็มีที่มาโดยอ้างอิงจากตำนานของเทพโอซิริส ในครั้งที่เทพโอซิริสและเทพีไอซิสถูกเทพเซ็ตตามล่า เทพโอซริสถูกสังหาร อานูบิสเป็นผู้รับอาสารักษาพระศพของเทพโอซิริส โดยใช้ขี้ผึงสูตรเฉพาะของตนเองแล้วก็ผ้าลินินสีขาวซึ่งทอจากฝีมือของเทพีทั้งสองคือ ไอซิสและเนฟทีสมาห่อหุ้มร่างนั้นไว้ จากนั้นอานูบิสจึงได้ออกปากสัญญากับพระมารดาทั้งสองว่าตนเองจะเป็นผู้พิทักษ์ร่างของโอซิริสเอง จากตำนานนี้เองจึงทำให้เทพอานูบิสนับถือว่าเป็นเทพผู้พิทักษ์คนตายและนำทางให้ผู้ตายสู่โลกวิญญาณ ทั้งนี้ในสมัยโบราณจะมีนักบวชผู้กระทำพิธีสวมหน้ากากที่มีลักษณะเป็นหมาในซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเทพอานูบิสอีกด้วย



ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : google


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น