เทพเจ้าแห่งนรก
จง ขุย
จง ขุย (จีน: 鍾馗; พินอิน: Zhōng Kuí) เป็นเทพกึ่งปีศาจในตำนานเทพของจีน
เชื่อกันว่าจงเขว่ยเป็นผู้กำราบปิศาจร้าย และมักจะวาดภาพจงเขว่ยไว้ที่หน้าประตู เพื่อเป็นผู้ปกปักษ์คุ้มครองบ้าน
ตามตำนานของจีน เล่าว่าจง ขุยเป็นชายหนุ่ม มีความรู้ดี แต่หน้าตาอัปลักษณ์
เขาเดินทางไปกับตู้ผิง (杜平) เพื่อนคนหนึ่งซึ่งเป็นคนบ้านเดียวกัน
เพื่อเข้าสอบรับราชการเป็นบัณฑิต ที่เรียกว่า จอหงวน ในเมืองหลวง
แม้ว่าจงจะสอบได้คะแนนสูงสุด แต่ฮ่องเต้ก็มิได้ประทานตำแหน่งจอหงวน
ให้เพราะจง ขุยมีรูปร่างหน้าตาที่น่าเกลียดนั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้
จงเขว่ยจึงโกรธและน้อยใจอย่างยิ่ง และฆ่าตัวตายที่บันไดพระราชวังนั่นเอง
ส่วนตู้ผิงก็ช่วยทำศพเพื่อน ครั้นเมื่อตายไปแล้ว จง ขุยได้เป็นราชาแห่งปิศาจในนรก และจะกลับบ้านเกิดในช่วงปีใหม่ (นั่นคือ ตรุษจีน) นอกจากนี้
ยังได้ตอบแทนความมีน้ำใจของตู้ผิง โดยการมอบน้องสาวให้แต่งงาน
เรื่องราวของจง
ขุยนั้นเป็นที่รู้จักกันดีในนิทานพื้นบ้านของจีน ตั้งแต่สมัยจักรพรรดิถังเสฺวียนจง (唐玄宗) ในราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 712 ถึง ค.ศ. 756) จากเอกสารในสมัยราชวงศ์ซ่ง ระบุว่า
เมื่อจักรพรรดิเสวียนจงทรงพระประชวรหนัก ทรงพระสุบินเห็นปิศาจสองตน
ตนเล็กขโมยถุงเงินไปจากพระสนม นามว่าหยางกุ้ยเฟย และขลุ่ยขององค์จักรพรรดิ
ส่วนปิศาจคนใหญ่นั้น สวมหมวกขุนนาง มาจับปิศาจตนเล็ก และดึงลูกตาออกมากินเสีย
จากนั้นปิศาจตนใหญ่ก็แนะนำตนว่าชื่อจงเขว่ย
และบอกว่าตนได้สาบานที่จะกำจัดอาณาจักรแห่งความชั่วร้าย เมื่อจักรพรรดิตื่นบรรทม
ก็ทรงหายจากอาการประชวร จากนั้นได้มีบัญชาให้นายช่างหลวง ชื่อ อู่ เต้าจื่อ (吴道子) วาดภาพจง
ขุยให้เหล่าขุนนางดู และภาพดังกล่าวมีอิทธิพลอย่างมากต่อภาพวาดจง ขุยในสมัยต่อ ๆ
มา
พระยม
ศาสนาฮินดู
ศาสนาฮินดูเชื่อว่าพระยมเป็นท้าวโลกบาลประจำทิศใต้ ทรงกระบือเป็นพาหนะ ถือไม้เท้าเป็นอาวุธ ดาวอังคารเป็นดาวประจำองค์
ศาสนาพุทธ
ศาสนาพุทธฝ่ายเถรวาท ถือว่าพระยมมีชาติกำเนิดเป็นเทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกาและเป็นเจ้าแห่งเวมานิกเปรต คัมภีร์ปปัญจสูทนีระบุว่าในมหานรกแต่ละขุมมีพระยมประจำอยู่ทั้ง
4
ประตู มหานรกมี 8 ขุม จึงมีพระยมทั้งสิ้น 32 องค์
ในเทวทูตสูตร
พระพุทธเจ้าตรัสว่าพระยมมีหน้าที่ซักถามสัตว์นรกเกี่ยวกับเทวทูต 5 ได้แก่ ทารกแรกเกิด คนแก่ คนป่วย นักโทษ และคนตาย
เพื่อให้สัตว์นรกนั้นได้ระลึกถึงกุศลกรรมที่ตนเคยทำมา หากสัตว์นรกจำได้ก็จะพ้นจากนรก
หากจำไม่ได้ยมบาลก็จะนำตัวสัตว์นรกนั้นไปลงโทษตามบาปกรรมที่ได้ทำมา
ส่วนลัทธิข้างจีนฝ่ายมหายานว่า พญายมเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง
ทำหน้าที่พิพากษาแก่ดวงวิญญาณทั้งหลาย
ยมบาล
ยมบาล หรือ นิรยบาล คือ เจ้าพนักงานในนรกภูมิ
มีหน้าที่ลงโทษทรมานสัตว์นรกตามคำสั่งของพระยม ศาสนาพุทธเชื่อว่ายมบาลมีชาติกำเนิดเป็นเทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกา มี 2 ประเภท คือ ยมบาลยักษ์และยมบาลกุมภัณฑ์
ยมบาลยักษ์คือยักษ์ที่อยากทำร้ายสัตว์นรก
จึงจำแลงกายเป็นยมบาล เที่ยวไล่ทำร้ายสัตว์นรกต่าง ๆ
หรือแปลงกายเป็นแร้งกาจิกกินสัตว์นรก และยมบาลกุมภัณฑ์ คือยมบาลที่อาศัยประจำในนรก
มีหน้าที่ทำร้ายสัตว์นรก หรือแปลงกายเป็นแร้งกาจับสัตว์นรกกิน
สามเทพสุภา
สามเทพสุภา (อังกฤษ: Three Judges of Hades World) คือ 3
ผู้พิพากษาความดีชั่วของผู้ที่เสียชีวิตลงตามเทพปกรณัมของกรีก ประกอบไปด้วย
ราดาแมนทีส (Radamanthys) ไมนอส (Minos, ภาษากรีก Μίνως) และไออาคอส (Aiacos, Aeacus ภาษากรีกแปลว่า ค้ำจุนโลก)
ราดาแมนทีสกับไมนอส เป็นพี่น้องกัน
ทั้งคู่เป็นบุตรของซุสและยูโรปา ทั้งคู่เมื่อยังมีชีวิตอยู่เป็นกษัตริย์
เมื่อตายลงจึงได้เป็นผู้พิพากษาในยมโลก ส่วน ไออาคอส เป็นบุตรของซุสกับอีคิดน่า แต่เดิมก็เป็นกษัตริย์เช่นกัน
เป็นกษัตริย์ที่ทรงความยุติธรรม
เมื่อตายลงจึงได้เป็นผู้พิพากษาเช่นเดียวกับราดาแมนทีสและไมนอส
โดยจะทำหน้าที่แตกต่างออกไป ราดาแมนทีส จะพิพากษาวิญญาณผู้ที่ตายจากภาคตะวันออก
ไออาคอสจะพิพากษาวิญญาณชาวกรีกและเฝ้าประตูนรก ส่วนไมนอส
จะเป็นผู้พิจารณาความดีชั่วเป็นเบื้องต้น
เฮดีส
เฮดีส (อังกฤษ: Hades, /ˈheɪdiz/; กรีกโบราณ: Ἅιδης/ᾍδης,
Hāidēs) เป็นพระเจ้าแห่งโลกบาดาลของกรีกโบราณ สุดท้าย
พระนามเฮดีสได้กลายมาเป็นชื่อเรียกถิ่นของผู้ตาย ในเทพปกรณัมกรีก
เฮดีสเป็นพระโอรสองค์โตของโครนัสและเรีย หากพิจารณาจากลำดับที่ประสูติจากพระชนนี
หรือองค์เล็กหากพิจารณาเมื่อพระชนกขย้อนออกมา
มุมมองอย่างหลังนี้มีรับรองในสุนทรพจน์ของโพไซดอนในอีเลียด ตามตำนาน พระองค์กับพระอนุชาซูสและโพไซดอน
พิชิตเทพไททันและอ้างการปกครองจักรวาล
แบ่งกันปกครองโลกบาดาล อากาศและทะเลตามลำดับ ปฐพีซึ่งเป็นอาณาเขตแห่งไกอามาแต่ช้านาน
เป็นของทั้งสามพร้อมกัน
ต่อมา ชาวกรีกเริ่มเรียกเฮดีสว่า พลูตอน
ซึ่งชาวโรมันแผลงเป็นละตินว่า พลูโต ชาวโรมันโยงเฮดีส/พลูโตเข้ากับพระเจ้าคะเธาะนิคของพวกตน ดิสปาเตอร์ (Dis
Pater) และออร์คัส พระเจ้าอีทรัสคันที่สอดคล้อง คือ ไอตา (Aita)
มักวาดภาพพระองค์กับหมาสามหัว เซอร์เบอรัส ในประเพณีปรัมปราวิทยาสมัยหลัง แม้ไม่ใช่สมัยโบราณ
พระองค์สัมผัสกับหมวกเกราะแห่งความมืดและสองง่าม คำว่า เฮดีส ในเทววิทยาคริสต์
(และพันธสัญญาใหม่ภาษากรีก)
เปรียบได้กับชีโอ (sheol, שאול)
ในภาษาฮีบรู ซึ่งหมายถึง
ถิ่นพำนักของผู้ตาย มโนทัศน์นรกของศาสนาคริสต์คล้ายและได้รับมาจากมโนทัศน์ทาร์ทารัสของกรีก
ซึ่งเป็นส่วนที่ลึกและมืดมิดซึ่งเฮดิสใช้เป็นคุกลงทัณฑ์และทรมาน
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก :
google
ตัวหนังสืออยากให้ชัดเจนกว่านี้หน่อยคับ มองไม่ค่อยเห็นเลย
ตอบลบโดยเฉพาะตัวหนังสือสีชมพูตั้งแต่หัวข้อ "3เทพ" ลงมาถึง "เฮดีส"จางมากๆเน้นชัดเฉพาะคำอย่างเดียว
ตอบลบโดยเฉพาะตัวหนังสือสีชมพูตั้งแต่หัวข้อ "3เทพ" ลงมาถึง "เฮดีส"จางมากๆเน้นชัดเฉพาะคำอย่างเดียว
ตอบลบ